Sunday, January 7, 2007

สารคดี











เขื่อนอุทกวิภาชประสิทธิ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องจากทรงมีความห่วงใยประชากรในพื้นที่ ที่ต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมทุกปีเพราะเนื่องจากภูมิประเทศตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมขังได้ง่ายและสร้างความเสียหายให้กับประชาชนในทุก ๆปีน้ำจากแม่น้ำปากพนังที่ติดกับทะเลทำให้น้ำทะเลหนุนกลายเป็นน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนทำให้ชาวบ้านต้องอพยพที่อยู่และสัตน์เลี้ยงต้องหาที่อยู่ให้ใหม่หรือบางทีก็ล้มตายลงเพราะป่วยเป็นโรค เมื่อปี2505ชาวปากพนังต้องพบเจอกับอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ที่สร้างความเสียหายให้กับชาวปากพนังและจารึกอยู่ในความทรงจำของชาวปากพนังอย่างไม่มีวันลืมในครั้งนั้นได้เกิดพายุใหญ่เข้าพัดท่วมบ้านเรือนของประชาชน ชาวบ้านบางคนถูกคลื่นพัดหายไปกับทะเล บางครอบครัวต้องไร้ที่อยู่ ไร้ที่ทำกิน บางครอบครัวต้องถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัวต้องหาที่อยู่กันใหม่ ซึ่งในตอนนั้นนับเป็นข่าวที่ครึกโครมมากเพราะเป็นข่าวที่สร้างความสะเทือนใจให้กับบุคลภายนอกที่รับรู้ถึงข่าวสารที่เกิดขึ้นกับคนปากพนัง


นอกจากแหลมตะลุมพุกที่ต้องพบเจอกับอุทกภัยในครั้งนี้หมู่บ้านที่อยู่ไกล้เคียงก็ได้รับผลกระทบเช่นกันแม้กระทั่งชาวตำบลหูล่องที่อยู่ไกล้เคียงก็ได้รับผลกระทบเนื่อง
จากสถานที่ตั้งอยู่ติดกับคลองปากพนังทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งยิ่งใหญ่และพายุที่พัดกระหน่ำที่แหลมตะลุมพุกได้พัดผ่านบ้านเรือนของประชาชนจนเสียหายไปหลายหลังต้องหนีน้ำขึ้นมาอาศัยอยู่บนถนนซึ่งในสมัยนั้นถนนก็ยังเป็นดินแดงสร้างความลำบากให้กับประชนทุกครัวเรือน
ในทุก ๆปีที่ผ่านมาตั้งแต่อดีตชาวปากพนังได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆมาโดยตลอด
เขื่อนอุทกวิภาคประสิทธิ เปรียบเสมือนแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำของชาวปากพนังที่ชาวปากพนังนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในเรื่องของการดำรงชีวิตอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพอุตสาหกรรม ในอดีตแม่น้ำปากพนังเคยหล่อเลี้ยงชาวปากพนังมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย เป็นเสมือนแหล่งข้าวแหล่งน้ำของชาวปากพนังชาวบ้านประชาชนในพื้นที่อาศัยแม่น้ำปากพนังเป็นที่หากิน เป็นแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์มากแห่งหนึ่ง


ต่อมาประมาณปี 2537 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้ทรงเห็นถึงความลำบากและความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นในประชาชนของพระองค์จึงได้ทรงให้จัดสร้างเขื่อนสำหรับกักเก็บน้ำเพื่อบรรเทาความทุกข์ให้กับประชาชนและเนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างรวมถึงภูมิประเทศที่เหมาะสำหรับการสร้างเขื่อนจึงได้มีการสำรวจพื้นที่และได้เลือกบ้านสองพี่น้องเป็นสถานที่ในการสร้างเขื่อนแห่งนี้ได้สร้างความดีใจและความปลื้มปิติให้กับประชาชนในพื้นที่เป็นอันมากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นถึงความลำบากและไม่ได้ทอดทิ้งประชาชนของพระองค์
เขื่อนอุทกวิภาชประสิทธิ เป็นเขื่อนที่สร้างขึ้นมาตามแนวโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีเนื้อที่ประมาณ 200ไร่ ได้สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2542และได้มีการต่อเติมเรื่อย ๆ มาในอดีตเมื่อถึงฤดูน้ำหลากชาวปากพนังจะมีความลำบากเป็นอย่างยิ่งเพราะน้ำจะท่วมขังและล้นตลิ่งขึ้นมาท่วมบ้านเรือนและสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรและชาวบ้านที่เลี้ยงกุ้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นถึงความสำคัญและความลำบากของชาวปากพนังจึงได้มีพระกรุณาให้ทรงสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำขึ้นมา ในปัจจุบันเขื่อนแห่งนี้ได้เปิดให้เป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนในยามเย็น และได้เปิดให้เยี่ยมชมพระตำหนักในวันเสาร์-อาทิตย์ ส่วนวันธรรมดาจะไม่เปิดให้เข้าชม เขื่อนอุทกวิภาชประสิทธิมีประตูที่ใช้สำหรับถ่ายเทน้ำในเวลาที่น้ำล้นและเป็นประตูที่กั้นสำหรับนำเค็มและน้ำจืดเหตุผลที่สร้างประตูระบายน้ำขึ้นมาก็เพราะประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ทำอาชีพเกษตรกรจำเป็นต้องมีน้ำจืดสำหรับใช้ในการเพาะปลูกและอีกส่วนหนึ่งก็ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งกุลาดำ เขื่อนแห่งนี้มีความสำคัญต่อประชากรในพื้นที่เป็นอันมากทั้งในเรื่องของการใช้น้ำในการเพาะปลูก และในเรื่องการสร้างอาชีพให้กับคนในท้องถิ่น สถานที่สำคัญ ๆ ก็มี อาทิเช่น พิพิธภัณฑ์ พระตำหนักที่ใหญ่โตและหรูหรา ประตูระบายน้ำ และวงเวียนปราสาททองล้วนแล้วแต่งดงามเป็นอย่างยิ่ง
ในเวลาเย็น ๆ นับเป็นเวลาที่เหมาะสำหรับการพักผ่อนและออกกำลังกายของคนในครอบครัวเป็นอย่างยิ่งประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่จะใช้สถานที่แห่งนี้ในการพักผ่อนในตอนเย็น ๆ หลังจากเลิกงาน ในบางโอกาสที่พิเศษก็จะมีการเปิดให้เยี่ยมชมภายในพระตำหนักและพิพิธภัณฑ์ซึ่งหาดูได้ยากมากนอกเหนือจากโอกาสพิเศษเท่านั้น

No comments: