Friday, January 26, 2007

Monday, January 22, 2007

แกรมมี่โกลล์เปิดตัวอัลบั้มใหม่อรวี สัจจานนท์

บริษัทแกรมมี่โกลล์ร่วมกับเทศบาลอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดกิจกรรมเปิดตัวอัลบั้มใหม่อรวี สัจจานนท์ ในวันศุกร์ที่ 26 มกราคม 2550 เวลา16.00-17.00น. ณ เทศบาลอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

คุณเกศแก้ว ศิริวัฒน์ นักบริหารทั่วไป 6 ตำแหน่งเจ้าหน้าที่เทสบาลอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวถึง กิจกรรมเปิดตัวอัลบั้มใหม่ของ อรวี สัจจานนท์ ที่จะมีขึ้นในวันศุกร์ ที่ 26 มกราคม2550 วัตถุประสงค์ในการจัดเพื่อเป็นการเปิดตัวอัลบั้มใหม่ โดยเป็นการเปิดตัวในสังกัดบริษัทแกรมมี่โกลล์ ทางคลื่นวิทยุรายการลูกทุ่งจ๋า ของคลื่นวิทยุชุมชนเทศบาลนครศรีธรรมราช เป็นการเดินสายเพื่อเปิดตัวอัลบั้มใหม่ แนะนำเพลงในอัลบั้ม โดยจะเดินสายไปตามสถานีวิทยุทั่วประเทศและจะมีศิลปินที่ทำเพลงใต้ดินในท้องถิ่นมาร่วม แสดงคอนเสิร์ตในครั้งนี้ด้วย ซึ่งงานในครั้งนี้ จะเริ่มตั้งแต่เวลา 16.00-17.00น.

Sunday, January 7, 2007

Script Format ข่าวโทรทัศน์
ข่าวภาค : 12.30 น.
วันที่ : ....../......./..................................................... สถานะข่าว : PRV
หัวข้อข่าว : ............................................................... ลำดับที่ : .........
ผู้สื่อข่าว : ................................................... สายข่าว : ......................
โปรดิวเซอร์ : (................................)......บ.ก.ข่าว : (.............................)
ช่างภาพ : ............................................ ตัดต่อ : (...............................)
() ข่าวอ่าน () ข่าวประกอบเสียง ....ความยาวโปรย _:_:_ ความยาวเทป _:_:_

ภาพ

เสียง

*ผู้สื่อข่าว (รายงาน)

*ซ้อน CG

สมบูรณ์ ใจกล้า

ผู้สื่อข่าว

โปรย โปรย โปรย โปรย

โปรย โปรย โปรย โปรย

(พิมพ์ตัวหนา)

*เทป - อ่านต่อ

(Insert ภาพข่าว)

เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ

เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ

เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ

เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ

เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ

เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ

เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ

*ซ้อน CG

นายวิจิตร ศรีสอ้าน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

.....Insert เสียงแหล่งข่าว......

TC:00:01:55 เริ่มที่ "พูด........"

TC:00:02:08 จบที่ .........พูด"

*เทป - อ่านต่อ

(Insert ภาพข่าว)

เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ

เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ

เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ

เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ

เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ

เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ

เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ เนื้อ

*ซ้อน CG

นางจรวยพร ธรณินทร์

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

.....Insert เสียงแหล่งข่าว......

TC:00:02:55 เริ่มที่ "พูด........"

TC:00:03:08 จบที่ .........พูด"

*เทป - อ่านต่อ

(Insert ภาพข่าว)

หรือ

*ผู้สื่อข่าว (รายงาน)

*ซ้อน CG

สมชาย หอมละออ - ถ่ายภาพ

สมบูรณ์ ใจกล้า - รายงาน

เนื้อปิดจบ (ถ้ามี) เนื้อปิดจบ

เนื้อปิดจบ (ถ้ามี) เนื้อปิดจบ

สมชาย หอมละออ - ถ่ายภาพ

สมบูรณ์ ใจกล้า - ราย

ผู้สื่อข่าว

ผู้สื่อข่าว นางสาวอมรรัตน์ ขุนณรงค์

สารคดี











เขื่อนอุทกวิภาชประสิทธิ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องจากทรงมีความห่วงใยประชากรในพื้นที่ ที่ต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมทุกปีเพราะเนื่องจากภูมิประเทศตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมขังได้ง่ายและสร้างความเสียหายให้กับประชาชนในทุก ๆปีน้ำจากแม่น้ำปากพนังที่ติดกับทะเลทำให้น้ำทะเลหนุนกลายเป็นน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนทำให้ชาวบ้านต้องอพยพที่อยู่และสัตน์เลี้ยงต้องหาที่อยู่ให้ใหม่หรือบางทีก็ล้มตายลงเพราะป่วยเป็นโรค เมื่อปี2505ชาวปากพนังต้องพบเจอกับอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ที่สร้างความเสียหายให้กับชาวปากพนังและจารึกอยู่ในความทรงจำของชาวปากพนังอย่างไม่มีวันลืมในครั้งนั้นได้เกิดพายุใหญ่เข้าพัดท่วมบ้านเรือนของประชาชน ชาวบ้านบางคนถูกคลื่นพัดหายไปกับทะเล บางครอบครัวต้องไร้ที่อยู่ ไร้ที่ทำกิน บางครอบครัวต้องถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัวต้องหาที่อยู่กันใหม่ ซึ่งในตอนนั้นนับเป็นข่าวที่ครึกโครมมากเพราะเป็นข่าวที่สร้างความสะเทือนใจให้กับบุคลภายนอกที่รับรู้ถึงข่าวสารที่เกิดขึ้นกับคนปากพนัง


นอกจากแหลมตะลุมพุกที่ต้องพบเจอกับอุทกภัยในครั้งนี้หมู่บ้านที่อยู่ไกล้เคียงก็ได้รับผลกระทบเช่นกันแม้กระทั่งชาวตำบลหูล่องที่อยู่ไกล้เคียงก็ได้รับผลกระทบเนื่อง
จากสถานที่ตั้งอยู่ติดกับคลองปากพนังทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งยิ่งใหญ่และพายุที่พัดกระหน่ำที่แหลมตะลุมพุกได้พัดผ่านบ้านเรือนของประชาชนจนเสียหายไปหลายหลังต้องหนีน้ำขึ้นมาอาศัยอยู่บนถนนซึ่งในสมัยนั้นถนนก็ยังเป็นดินแดงสร้างความลำบากให้กับประชนทุกครัวเรือน
ในทุก ๆปีที่ผ่านมาตั้งแต่อดีตชาวปากพนังได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆมาโดยตลอด
เขื่อนอุทกวิภาคประสิทธิ เปรียบเสมือนแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำของชาวปากพนังที่ชาวปากพนังนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในเรื่องของการดำรงชีวิตอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพอุตสาหกรรม ในอดีตแม่น้ำปากพนังเคยหล่อเลี้ยงชาวปากพนังมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย เป็นเสมือนแหล่งข้าวแหล่งน้ำของชาวปากพนังชาวบ้านประชาชนในพื้นที่อาศัยแม่น้ำปากพนังเป็นที่หากิน เป็นแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์มากแห่งหนึ่ง


ต่อมาประมาณปี 2537 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้ทรงเห็นถึงความลำบากและความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นในประชาชนของพระองค์จึงได้ทรงให้จัดสร้างเขื่อนสำหรับกักเก็บน้ำเพื่อบรรเทาความทุกข์ให้กับประชาชนและเนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างรวมถึงภูมิประเทศที่เหมาะสำหรับการสร้างเขื่อนจึงได้มีการสำรวจพื้นที่และได้เลือกบ้านสองพี่น้องเป็นสถานที่ในการสร้างเขื่อนแห่งนี้ได้สร้างความดีใจและความปลื้มปิติให้กับประชาชนในพื้นที่เป็นอันมากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นถึงความลำบากและไม่ได้ทอดทิ้งประชาชนของพระองค์
เขื่อนอุทกวิภาชประสิทธิ เป็นเขื่อนที่สร้างขึ้นมาตามแนวโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีเนื้อที่ประมาณ 200ไร่ ได้สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2542และได้มีการต่อเติมเรื่อย ๆ มาในอดีตเมื่อถึงฤดูน้ำหลากชาวปากพนังจะมีความลำบากเป็นอย่างยิ่งเพราะน้ำจะท่วมขังและล้นตลิ่งขึ้นมาท่วมบ้านเรือนและสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรและชาวบ้านที่เลี้ยงกุ้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นถึงความสำคัญและความลำบากของชาวปากพนังจึงได้มีพระกรุณาให้ทรงสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำขึ้นมา ในปัจจุบันเขื่อนแห่งนี้ได้เปิดให้เป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนในยามเย็น และได้เปิดให้เยี่ยมชมพระตำหนักในวันเสาร์-อาทิตย์ ส่วนวันธรรมดาจะไม่เปิดให้เข้าชม เขื่อนอุทกวิภาชประสิทธิมีประตูที่ใช้สำหรับถ่ายเทน้ำในเวลาที่น้ำล้นและเป็นประตูที่กั้นสำหรับนำเค็มและน้ำจืดเหตุผลที่สร้างประตูระบายน้ำขึ้นมาก็เพราะประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ทำอาชีพเกษตรกรจำเป็นต้องมีน้ำจืดสำหรับใช้ในการเพาะปลูกและอีกส่วนหนึ่งก็ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งกุลาดำ เขื่อนแห่งนี้มีความสำคัญต่อประชากรในพื้นที่เป็นอันมากทั้งในเรื่องของการใช้น้ำในการเพาะปลูก และในเรื่องการสร้างอาชีพให้กับคนในท้องถิ่น สถานที่สำคัญ ๆ ก็มี อาทิเช่น พิพิธภัณฑ์ พระตำหนักที่ใหญ่โตและหรูหรา ประตูระบายน้ำ และวงเวียนปราสาททองล้วนแล้วแต่งดงามเป็นอย่างยิ่ง
ในเวลาเย็น ๆ นับเป็นเวลาที่เหมาะสำหรับการพักผ่อนและออกกำลังกายของคนในครอบครัวเป็นอย่างยิ่งประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่จะใช้สถานที่แห่งนี้ในการพักผ่อนในตอนเย็น ๆ หลังจากเลิกงาน ในบางโอกาสที่พิเศษก็จะมีการเปิดให้เยี่ยมชมภายในพระตำหนักและพิพิธภัณฑ์ซึ่งหาดูได้ยากมากนอกเหนือจากโอกาสพิเศษเท่านั้น